เมนู

ทิฏฺเฐ อทิฏฺฐวาทิตา เห็น กล่าวว่าไม่เห็น
สุเต อสฺสุตวาทิตา ได้ยิน กล่าวว่าไม่ได้ยิน
มุเต อมุตวาทิตา ทราบ กล่าวว่าไม่ทราบ
วิญฺญาเต อวิญฺญาตวาทิตา รู้ กล่าวว่าไม่รู้
นี้แล อนริยโวหาร 4.
จบตติยโวหารสูตรที่ 10

11. จตุตถโวหารสูตร


ว่าด้วยอริยโวหาร 4


[253] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร 4 ประการนี้ อริยโวหาร 4
เป็นไฉน คือ
ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐวาทิตา เห็น กล่าวว่าเห็น
สุเต สุตวาทิตา ได้ยิน กล่าวว่าได้ยิน
มุเต มุตวาทิตา ทราบ กล่าวว่าทราบ
วิญฺญาเต วิญฺญาตวาทิตา รู้ กล่าวว่ารู้
นี้แล อริยโวหาร 4.
จบจตุตถโวหารสูตรที่ 11
จบอาปัตติภยวรรคที่ 5

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สังฆเภทกสูตร 2. อาปัตติสูตร 3. สิกขานิสังสสูตร 4. เสยย-
สูตร 5. ถูปารหสูตร 6. ปัญญาวุฑฒิสูตร 7. พหุการสูตร 8. ปฐม-
โวหารสูตร 9. ทุติยโวหารสูตร 10. ตติยโวหารสูตร 11. จตุตถโวหารสูตร
และอรรถกถา.

อภิญญาวรรคที่ 6

1. อภิญญาสูตร


ว่าด้วยธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา 4


[254] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้ 4 ประการ
เป็นไฉน คือ ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ไว้ก็มี ธรรมที่รู้ยิ่งด้วย
ปัญญาแล้วพึงละเสียก็มี ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงให้เจริญก็มี ธรรมที่
รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้งก็มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้เป็นไฉน
คือ อุปาทานขันธ์ 5 นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ไว้
ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสียเป็นไฉน คือ อวิชชา และภวตัณหา
นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสีย ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา
แล้ว พึงให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะและวิปัสสนา นี้เราเรียกว่า ธรรมที่
รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงให้เจริญ ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้ง
เป็นไฉน คือ วิชชาและวิมุตติ นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว
พึงกระทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้แล.
จบอภิญญาสูตรที่ 1